รักษาแผลคีลอยด์ ด้วยการฉายแสง แผลนูนหนา แผลผ่าตัด ผ่าคลอด - Radiation therapy for keloid scars: Keloid scar treatment

รักษาแผลคีลอยด์ ด้วยการฉายแสง แผลนูนหนา แผลผ่าตัด แผลผ่าคลอด

รักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง (Radiation therapy for keloid scars) คือ วิธีการรักษาแผลคีลอยด์หรือแผลเป็นนูนหนา ที่มีขนาดกว้างเกินกว่าขอบแผลเดิม ด้วยการฉายรังสีปริมาณต่ำไปที่แผลคีลอยด์เพื่อให้เนื้อเยื่อส่วนเกินยุบตัว

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


รักษาแผลคีลอยด์ ด้วยการฉายแสง (Radiation therapy for keloid scars)

รักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง (Radiation therapy for keloid scars) คือ วิธีการรักษาแผลคีลอยด์หรือแผลเป็นนูนหนา ที่มีขนาดกว้างเกินกว่าขอบแผลเดิม ด้วยการฉายรังสีปริมาณต่ำไปที่แผลคีลอยด์เพื่อให้เนื้อเยื่อส่วนเกินยุบตัว หยุดการขยายขนาดคีลอยด์ และป้องกันการเป็นคีลอยด์ซ้ำ ซึ่งแพทย์จะฉายแสงรักษาแผลคีลอยด์หลังการผ่าตัด เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยจะฉายรังสีไปที่ผิวหนังชั้นนอกสุดเฉพาะส่วนของแผลคีลอยด์ ซึ่งจะไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง หรือผิวหนังชั้นล่างแต่อย่างใด การรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง เป็นการรักษาแผลคีลอยด์หรือแผลนูนเกินที่มีประสิทธิภาพมาก ใช้ปริมาณรังสีน้อย มีผลข้างเคียงต่ำ และมีอัตราความสำเร็จสูง

ทำไมต้องรักษาแผลคีลอยด์ ด้วยการฉายแสง

โดยทั่วไป แผลคีลอยด์ หรือ แผลนูนเกิน สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยารักษาสเตียรอยด์ การยิงเลเซอร์ หรือการผ่าตัดเพื่อลดขนาดแผล ทำให้แผลยุบตัวลง แผลอ่อนนุ่มขึ้น และสีของแผลจางลง อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มีแผลคีลอยด์ หรือแผลนูนเกินขนาดใหญ่ แผลขยายขนาดออกด้านข้างเป็นวงกว้าง หรือแผลคีลอยด์ในตำแหน่งที่การรักษากระทำได้ยาก การฉีดยาสเตียรอยด์อาจตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดี การยิงเลเซอร์อาจต้องทำซ้ำหลายครั้ง และการผ่าตัดแผลคีลอยด์อาจทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ มีแผลหลังผ่าตัดที่ไม่สวยงามและไม่สมมาตร

การรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสงหลังการผ่าตัดให้การตอบสนองต่อการรักษาที่ดี เมื่อใช้พลังงานรังสีที่เหมาะสมร่วมกับเทคนิคการฉายแสงที่แม่นยำ โอกาสกลับมาเป็นซ้ำแทบไม่มี ใช้จำนวนรอบในการฉายแสงน้อยเพียง 3 ครั้ง ไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแผลผ่าตัด ช่วยลดขนาดแผลคีลอยด์หรือแผลนูนเกิน และสามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของแผลคีลอยด์ได้อย่างดีที่สุด

แผลคีลอยด์เกิดจากอะไร What causes keloid scars

แผลคีลอยด์เกิดจากอะไร

แผลคีลอยด์ เกิดจากการที่เนื้อเยื่อสร้างคอลลาเจนมากเกินไปในระหว่างกระบวนการซ่อมแซมตนเองของแผล ทำให้เกิดเนื้อนูน ขยายขนาดเกินขอบแผลเดิมบนผิวหนัง เช่น ติ่งหู หัวไหล่ หรือหน้าอก คีลอยด์เป็นการตอบสนองของร่างกายจากการเกิดแผล เช่น แผลผ่าตัด แผลผ่าคลอด แผลเจาะหู แผลถลอก แผลสิว แผลไฟไหม้ หรือแผลน้ำร้อนลวก แผลคีลอยด์ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้หงุดหงิดรำคาญใจ และสูญเสียความมั่นใจในการเผยผิวส่วนที่เป็นแผล

แผลคีลอยด์แบบไหน รักษาได้ด้วยการฉายแสง What types of keloid scars can be treated with radiation?

แผลคีลอยด์แบบไหน รักษาได้ด้วยการฉายแสง

แผลคีลอยด์ที่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายแสงหลังการผ่าตัด มีดังนี้

  • แผลคีลอยด์หลังผ่าตัดทุกชนิด
  • แผลคีลอยด์ ผ่าคลอด
  • แผลคีลอยด์หลังเจาะหู
  • แผลคีลอยด์ ฉีดยา
  • แผลคีลอยด์ ที่มีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นซ้ำ
  • แผลคีลอยด์ที่ขยายขนาดกว้างกว่าฐานของแผลเดิม
  • แผลนูนเกิน หรือแผลโตนูน (Hypertrophic scar)
  • แผลเป็นหดรั้ง (Contracture scar)

Keloid Scar Banner 4

ขั้นตอนการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง

แพทย์จะวินิจฉัยแผลคีลอยด์ แผลนูนเกิน หรือแผลเป็นชนิดอื่น ๆ โดยการซักประวัติหาสาเหตุของแผลและตรวจแผลอย่างละเอียด ตรวจตำแหน่ง สอบถามอาการ ระบุชนิดของแผล และวางแผนการรักษา รวมถึงพิจารณาการรักษาร่วมอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ก่อนการรักษาแผลคีลอยด์ ด้วยการฉายแสง

  • แพทย์และนักรังสีแพทย์จะวางแผนการรักษาโดยการถ่ายภาพตำแหน่ง ขนาด และขอบเขตของแผลคีลอยด์ที่จะทำการผ่าตัดและฉายแสง เพื่อคำนวณปริมาณรังสี กำหนดความเข้มของรังสี และระยะเวลาในการฉายแสง
  • แพทย์จะทำนัดวันและเวลาผ่าตัดแผลคีลอยด์และตามด้วยการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสงในวันเดียวกัน โดยจะทำนัดฉายแสงทั้งหมด 3 ครั้ง 3 วัน ติดกัน

ระหว่างการรักษาแผลคีลอยด์ ด้วยการฉายแสง

  • ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดแผลคีลอยด์ และจะส่งผู้รับการรักษาให้เข้ารับการฉายแสงหลังการผ่าตัดภายใน 24 ชม. หรือโดยเร็วที่สุด ก่อนที่จะเกิดแผลคีลอยด์
  • แพทย์และนักรังสีแพทย์จัดท่าผู้รับการรักษาบนเตียง และเริ่มต้นกระบวนการฉายแสงโดยการใช้รังสีอิเล็กตรอนยิงไปยังแผลคีลอยด์โดยตรง เฉพาะส่วนผิวหนังชั้นตื้นหรือผิวหนังชั้นนอกสุด โดยจะไม่ลงลึกสู่ผิวหนังชั้นล่าง ไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง และไม่ทำให้รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด
  • โดยทั่วไป การรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสงจะใช้ระยะเวลาในการฉายแสงสั้นเพียง 1 นาทีเท่านั้น โดยเมื่อเสร็จสิ้นการฉายแสงครั้งแรก แพทย์จะทำนัดเพื่อฉายแสงซ้ำในวันถัดไป

Radiation Therapy for Keloid Scars

การดูแลตนเอง หลังการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง

  • ห้ามไม่ให้แผลโดนน้ำ ไม่ติดผ้าพันแผล และหลีกเลี่ยงไม่อยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง
  • งดกิจกรรมที่ทำให้มีเหงื่อออก เช่น การออกกำลังกาย หรือการออกแรงหนัก
  • งดการใช้ครีมทาผิวที่ใช้เป็นประจำชั่วคราว ยกเว้นยาทาแผลที่แพทย์สั่ง
  • สวมใส่เสื้อผ้าสบาย ไม่รัดแผล หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าแนบเนื้อ หรือเนื้อผ้าหยาบกระด้าง เพื่อป้องกันการเสียดสีแผล
  • สามารถใช้ชีวิต ทำกิจกรรมต่าง ๆ และอยู่ร่วมกับบุคคลรอบข้างได้ตามปกติ

ผลข้างเคียงจากการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง

ผลข้างเคียงทั่วไปจากการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง เช่น ผิวบริเวณแผลเป็นสีแดง สีชมพู ผิวแห้ง เป็นขุย คันแผล หรือเจ็บแผลเล็กน้อย โดยอาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยในระยาว สีผิวที่ได้รับการฉายแสงอาจเข้มขึ้นหรือจางลง และผิวมีความไวต่อแดด โดยแพทย์แนะนำให้ทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 ขึ้นไป ตรงบริเวณแผลเป็นประจำทุกวันเพื่อป้องกันรังสี UVA/UVB

ข้อดีของการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง

การรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง เป็นการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยรังสีปริมาณความเข้มต่ำแบบตื้น ๆ บนผิวหนังชั้นนอกสุด ซึ่งจะไม่ลงลึกสู่ใต้ชั้นผิวหนัง เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัย ใช้ระยะเวลาในการรักษาสั้น ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ต้องดมยาสลบ ไม่มีอาการเจ็บปวด มีผลข้างเคียงน้อยมาก และเป็นการรักษาแผลคีลอยด์ที่ช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ดีที่สุด

การรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉายแสง มีอัตราความสำเร็จอย่างไร

จากผลการสำรวจ ผู้ที่รักษาแผลคีลอยด์ด้วยวิธีการฉายแสงหลังการผ่าตัด พบว่ามีอัตราความสำเร็จในการรักษาอยู่ที่ระหว่าง 67-98% การฉายแสงหลังผ่าตัดคีลอยด์ช่วยให้แผลยุบตัวลงเร็ว ยับยั้งการขยายขนาด และสามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้เป็นอย่างดี

Keloid Scar รักษาแผลคีลอยด์ ด้วยการฉายแสง รพ. เมดพาร์ค

รักษาแผลคีลอยด์ ด้วยการฉายแสง รพ. เมดพาร์ค

ศูนย์รังสีรักษา รพ. เมดพาร์ค กรุงเทพ ประเทศไทย นำโดยทีมอาจารย์แพทย์ผู้ชำนาญการพิเศษด้านรังสีร่วมรักษาที่มีประสบการณ์การรักษามาอย่างยาวนาน ร่วมกับนักรังสีการแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ มีความพร้อมในการรักษาแผลคีลอยด์ แผลนูนเกิน หรือแผลผ่าตัดทุกชนิดแบบทั่วไปและที่มีความยากซับซ้อนด้วยวิธีมาตรฐาน และวิธีการใช้รังสีร่วมรักษาโดยการฉายรังสีด้วยเครื่องเร่งอนุภาค Linear Accelerator (LINAC) ที่ให้รังสีอิเล็กตรอนในการรักษา สามารถปรับความเข้มและรูปร่างของรังสีให้เข้ากับตำแหน่ง ขนาด และรูปร่างของแผลคีลอยด์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้การรักษามีความแม่นยำ ตรงจุด และมีประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด พร้อมทั้งให้ดูแลติดตามผลหลังการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ พร้อมทั้งช่วยฟื้นฟูสภาพผิวให้เรียบเนียน เป็นปกติให้ได้มากที่สุด

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 16 เม.ย. 2025

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. กาญจนา โชติเลอศักดิ์

    พญ. กาญจนา โชติเลอศักดิ์

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Radiation Oncology
  • Link to doctor
    พญ. ฐิติพร จารุเธียร

    พญ. ฐิติพร จารุเธียร

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    โรคมะเร็งปอด, Thoracic Tumor, Radiation Oncology
  • Link to doctor
    นพ. ธีรกุล จิโรจน์มนตรี

    นพ. ธีรกุล จิโรจน์มนตรี

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT), Radiation Oncology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. ดนิตา กานต์นฤนิมิต

    ผศ.พญ. ดนิตา กานต์นฤนิมิต

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Image-Guided Radiotherapy (IGRT), Stereotactic Radiosurgery (SRS), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Clinical Interest in Breast Cancer, Clinical Interest in Head and Neck Cancer, Clinical Interest in Lung Cancer, Radiation Oncology
  • Link to doctor
    พญ. กิตต์วดี ศักดิ์ศรชัย

    พญ. กิตต์วดี ศักดิ์ศรชัย

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Advanced Radiotherapy, Breast Clinical Oncologist, Radiation Oncology
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จักรพงษ์ จักกาบาตร์

    ผศ.นพ. จักรพงษ์ จักกาบาตร์

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Radiation Oncology
  • Link to doctor
    พญ. นารีนาฎ รัชพงษ์ไทย

    พญ. นารีนาฎ รัชพงษ์ไทย

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Radiation Oncology
  • Link to doctor
    นพ. ยงยุทธ คงธนารัตน์

    นพ. ยงยุทธ คงธนารัตน์

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Radiation Oncology, Breast Cancer, มะเร็งต่อมลูกหมาก, Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Image-Guided Radiotherapy (IGRT), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Stereotactic Radiosurgery (SRS)
  • Link to doctor
    ศ.นพ. ชวลิต เลิศบุษยานุกูล

    ศ.นพ. ชวลิต เลิศบุษยานุกูล

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Head Cancer, Neck Cancer, Breast Cancer, โรคมะเร็งปอด, Esophageal Cancer, Gastroesophageal Cancer, Pancreaticobiliary Cancer, Soft Tissue Sarcoma, Radiation Oncology
  • Link to doctor
    พญ. ชนน์นิภา นันทวิทยา

    พญ. ชนน์นิภา นันทวิทยา

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    Radiation Oncology
  • Link to doctor
    พญ. สาริน กิจพาณิชย์

    พญ. สาริน กิจพาณิชย์

    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    ผ่าตัดมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ, Upper GI Cancer, Central Nervous System Tumors, Brain and Spinal Tumor, Brain Metastasis, Intensity-Modulated Radiotherapy (IMRT), Volumetric Modulated Arc Therapy (VMAT), Stereotactic Radiosurgery (SRS), Stereotactic Radiotherapy (SRT), Stereotactic Body Radiotherapy (SBRT), Proton Therapy, Radiation Oncology